โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย "สูโดมาลิอาย"ที่พบได้ทั่วไปในดินและน้ำในประเทศไทย แม้ว่าโรคนี้ฆ่าคนไทยตายมากกว่าปีละ 1,000 คนทุกปี (มากกว่า จำนวนคนไทยที่ตายจาก มาลาเรีย ฉี่หนู ไข้หวัดนก และไข้เลือดออก รวมกันเสียอีก) แต่โรคเมลิออยโดสิสยังไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้อง และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการป้องกันและไม่รู้จักโรคติดเชื้อนี้เลยด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวนาและต้องสัมผัสดินและน้ำ และเสี่ยงที่จะเป็นโรคเมลิออยโดสิสอยู่ตลอดเวลา
เราอยากให้คุณเป็นอีกคนหนึ่งที่รู้จักและเข้าใจถึงวิธีการป้องกันโรคเมลิออยโดสิสอย่างถูกต้อง และสามารถบอกต่อๆ ออกไปเพื่อให้เราคนไทยไม่ต้องเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้อย่างโรคเมลิออยโดสิส
การวินิจฉัยโรคเมลิออยด์นั้นสามารถทำได้ด้วยการตรวจเพาะเชื้อและระบุว่าเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบนั้นคือ เชื้อเมลิออยด์ แต่ทั้งนี้การระบุเชื้อเมลิออยด์จากการเพาะเชื้อนั้น ต้องใช้ความชำนาญอย่างสูง เพราะเชื้อเมลิออยด์อาจถูกมองข้าม หรือถูกละเลย เข้าใจผิดว่าเป็นเชื้ออื่น หรือเป็นเชื้อปนเปื้อน และไม่รายงานให้แพทย์ทราบได้ ถ้าผู้ตรวจในห้องปฏิบัติการไม่มีความชำนาญเพียงพอ การตรวจเชื้อเมลิออยด์สามารถทำได้อุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจชั้นสูง เช่น API20NE หรือ VITEK MACHINE แต่ก็ยังอาจให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล และ ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยด์ ม. ขอนแก่น ได้ผลิตชุดตรวจ LATEX AGGLUTINATION สำหรับการตรวจเชื้อแบคทีเรียว่าเป็นเชื้อเมลิออยด์หรือไม่ ซึ่งใช้ได้ดีในประเทศไทย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อดังในเอกสาร (คลิก อ่านต่อ)
การตรวจ indirect haemagglutination assay (IHA) เป็นการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาอย่างง่ายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส โดยทำการวัดระดับภูมิคุ้นกันของผู้ป่วยต่อเชื้อ Burkholderia pseudomallei แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมี IHA สูงเกิน 1:1000 ทั้งๆ ที่ไม่มีการติดเชื้อโรคเมลิออยโดสิส ซึ่งทำให้การนำ IHA มาใช้ในการวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสในประเทศไทยนั้นมีข้อจำกัดอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม IHA สามารถใช้ในการศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อทดสอบว่าผู้ถูกตรวจนั้นเคยมีการสัมผัสกับเชื้อ B. pseudomallei มาก่อนหรือไม่ เนื่องจากผู้ที่เคยสัมผัสกับเชื้อจะมีระดับภูมิคุ้นกันขึ้นสูงได้แม้ว่าจะไม่เป็นโรค
ในการประชุม Thailand-Lao Melioidosis Network Meeting (TLMNM) ณ.วันที่ 22 มีนาคม 2555 ณ. หน่วยวิจัยมหิดลอ๊อกฟอร์ด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหิดล ตัวแทนนักวิจัย แพทย์ และ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะใช้ชื่อ "โรคเมลิออยด์" ในการรณรงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันโรค ในทุกภาคส่วน
ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับโรคเมลิออยด์ที่พบในขณะนี้คือ โรคเมลิออยด์คร่าชีวิตคนไทยตายมากกว่าปีละ 1000 คนแต่ประชาชนไม่มีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรค ทั้งๆ ที่โรคเมลิออยด์เป็นโรคที่ป้องกันได้ การรายงานโรคเมลิออยด์มายังกระทรวงสาธารณสุขนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้โดยการ ....
ในการประชุม Thailand-Lao Melioidosis Network Meeting (TLMNM) ณ.วันที่ 17 กันยายน 2555 ณ. หน่วยวิจัยมหิดลอ๊อกฟอร์ด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหิดล ตัวแทนนักวิจัย แพทย์ และ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุเป้าหมายและวิธีการในการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยที่เกิดจากโรคเมลิออยด์ดังนี้
1) ยกระดับระบบเฝ้าระวัง
2) เพิ่มการตื่นตัวของประชาชนทั่วไป
3) ปรังปรุงการวินิจฉัยโรคเมลิออยด์ และ
4) ปรับปรุงการป้องกันโรคเมลิออยด์
รายละเอียดเพ่ิมเติมสามารถอ่านได้ใน ...
เราต้องการความช่วยเหลือจากทุกๆ คนเพื่อที่จะให้เวปไซต์ของเรามีส่วนช่วยสังคมของเราให้มากที่สุด เราจะยินดีเป็นอย่างมากถ้าท่านเขียนบทความใดๆ หรือส่งสิ่งใดๆ ที่ท่านต้องการให้ปรากฏบนเวปไซต์มาให้เรา เราจะมีคณะบรรณาธิการเพื่อทำการกลั่นกรองและช่วยเหลือท่าน เราจะไม่สามารถมีสิ่งดีๆ ให้คนอื่นได้เลย ถ้าเราไม่มีท่าน เราจะมีรายนามขอบคุณท่านอย่างเหมาะสม ถ้าท่านมีข้อแนะนำหรือติชม
… เขียนมาหาเรา หรือที่หน้า
Facebook ของเรา